วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558


ภาพประกอบระบบเครือข่าย

    การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด

หน่วยที่ 1 เรื่อง ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ระบบเครือข่ายหมายความว่าอย่างไรจงอธิบาย
2. ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
3. ระบบเครือข่ายมีประโยชน์อย่างไร
4. Hardware ที่นำมาใช้งานกันได้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย

5. อธิบายการใช้ Software ร่วมกัน แต่ละชนิดมาให้เข้าใจ6. อธิบายการเชื่อมต่อกับระบบอื่นมาให้เข้าใจ
7. ยกตัวอย่างการทำงานในระบบ Multiusers พร้อมทั้งอธิบาย 
                                                     หน่วยที่ 2 เรื่อง ประเภทของเครือข่าย
1. ระบบเครือข่ายแบ่งเป็นกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. จงอธิบายระบบเครือข่ายแต่ละประเภท
3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง LAN และ WAN
4. เครือข่าย WAN ประกอบด้วยอะไรบ้าง
5. เปรียบเทียบระบบเครือข่ายแต่ละแบบ
6. ระบบเครือข่ายแต่ละแบบ
7. ส่วนประกอบทางด้าน Hardware ประกอบด้วยอะไรบ้าง
8. ส่วนประกอบทางด้าน Software ประกอบด้วยอะไรบ้าง
9. อธิบายการเริ่มต้นใช้งานระบบเครือข่าย
                                                      หน่วยที่ 3 เรื่อง มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
1. มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบ่งเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
2. จงอธิบายมาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย แต่ละมาตรฐาน
3. อธิบายและยกตัวอย่างโปรแกรมที่ต้องมีการติดต่อสื่อสาร โดยวิธีของระบบเปิด
4. องค์กรมาตรฐานสากลหรือ ISO ทำหน้าที่อะไร
5. ISO Reference Model ประกอบด้วย 7 ลำดับชั้น ได้แก่อะไรบ้าง
6. อธิบาย Cable หรือ สายส่งข้อมูลแต่ละชนิด
7. Network แบ่งออกเป็นกี่ชนิด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
8. บอกข้อดีและข้อเสียของ Bus, Ring และ Star
9. รูปแบบการเชื่อมต่อสายส่งข้อมูลที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้แก่อะไรบ้าง
10. อธิบายการทำงานของ Repeater, Bridge และ Router

หน่วยที่ 4 เรื่อง ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN)
1. หลักเกณฑ์ที่นำมาพิจารณาว่าหน่วยงานควรจะตั้งระบบเครือข่ายได้หรือยัง ได้แก่อะไรบ้าง
2. อธิบายการใช้งานในระบบเครือข่าย LAN
3. บอกข้อดีและข้อจำกัดของ LAN
4. บอกส่วนประกอบของระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN)
5. ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญในการประกอบขึ้นเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น ได้แก่อะไรบ้าง
6. อธิบายและยกตัวอย่างสารสื่อสาร (Cable Media)
7. อธิบายหน้าที่ของ LAN โปรโตคอล
8. แอสเซสโปรโตคอลที่นิยมใช้ในเครือข่าย LAN ได้แก่อะไรบ้าง

.หน่วยที่ 5 เรื่องการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
1. อธิบายการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
2. บอกข้อดีของระบบปฏิบัติการ Netware
3. บอกส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการของเครือข่าย Netware
4. วิธีกำหนดชื่อแฟ้มข้อมูลใน Directory มีกี่แบบ ได้แก่อะไรบ้าง
5. อธิบายการกำหนด Drive ของระบบเครือข่าย
6. อธิบายการทำงานของ Netware
7. Netware มีจุดเด่นอย่างไร
หน่วยที่ 6 เรื่อง ระบบอินเตอร์เน็ต
1. อินเตอร์เน็ตคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. สรุปประวัติความเป็นมาของระบบอินเตอร์เน็ต
3. ระบบอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
4. อธิบายและยกตัวอย่างบริการต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เน็ต
5. ระบบอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างไร
6. เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นอย่างไร
7. อธิบายการเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต
8. IP Address คืออะไร มีการกำหนดอย่างไร
9. Domain Name System (DNS) คืออะไร
10. การกำหนดชื่อผู้ใช้ และชื่อ Domain ต้องทำอย่างไร

บทที่ 7 ระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่ 7 ระบบอินเตอร์เน็ต

เริ่มต้นทำความรู้จักกับรบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คืออะไรบางคนอาจเป็นพวกที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุก ๆ วันในการทำงานไปจนถึงบางพวกที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ในงานของเขาเท่านั้น คำตอบที่ให้ภาพโดยรวมอันหนึ่งคือ
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ภาพ และเสียงได้ รวมทั้งสามารถที่จะทำการค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
อินเตอร์เน็ต ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
1. เครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และ
2. ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเก็บเอาไว้ พร้อมกับมีความสามารถที่ช่วยให้เราค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
ฉะนั้น อินเตอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมข่าวสารอย่างเช่นปัจจุบันอย่างมากเนื่องจากถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปอินเตอร์เนตก็แทบจะไม่มีประโยชน์ อะไรเลย เช่น ถ้ามีแต่เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวแต่ขาดข้อมูลที่มีประโยชน์หรือไม่สามารถค้นหาข้อมูลต้องการจากเครือข่ายนั้นได้ ก็จะไม่ได้อะไรจากเครือข่าย
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งมีจะกล่าวถึง คือ อินเตอร์มเนตมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด คนละแบบ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น PC แมคอินทอช หรือเครื่องแบบใด ๆ ก็ตาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครือข่ายหลักของอินเตอร์เนตมักจะเป็นระบบเครือข่ายของมินิคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) และเครือข่ายของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ บางคนจึงเรียกอินเตอร์เนตว่า เป็น "เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์" (Network of Networks) ส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งหลายนั้นมักจะไม่ได้ต่ออยู่กับอินเตอร์เนตตลอดเวลา เพียงแต่เชื่อมต่อเข้าไปเป็นครั้งคราวตามความต้องการใช้งานเท่านั้น
แต่ความหมายของอินเตอร์เนตคงไม่ใช่เพียงแค่นี้ แต่กว้างขวางเกินกว่าที่กล่าวมาข้างต้นมากมายนัก และเนื่องจากอินเตอร์เนตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนที่เป็นผู้ใช้ของอินเตอร์เนตอีกด้วย ผู้ใช้บางคนอาจมองว่าเป็นแหล่งข้อมูลบันเทิงมหาศาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น รายการภาพยนตร์ การเลือกซื้อสินค้า โปรแกรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ฯลฯ บางคนอาจมองว่าเป็นห้องสังคมศาสตร์ และบางคนอาจมองว่าอินเตอร์เนตเป็นเครือข่ายที่ให้เข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกลได้ พร้อมกับรับส่งข้อความกับผู้อื่นผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Mail นั่งเอง แต่จากคำตอบที่ว่าอินเตอร์เนตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รับส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ และมีความสามารถที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วนี้ คงพอจะทำให้สามารถมองเห็นภาพของอินเตอร์เนตได้กว้างขวางขึ้น สำหรับบริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เนตนั้นมีอยู่มากมายหลายด้าน
เนื่องจากสังคมทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นให้คนเราสื่อสารถึงกันได้ง่ายและสะดวกขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ความสามารถที่จะสื่อสารถึงกันด้วยคำพูดผ่านทางโทรศัพท์อย่างอดีตคงจะไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไปความต้องการของคนเรามีมากกว่านั้น เช่น ต้องการเห็นภาพพร้อมเสียง และข้อความที่เป็นตัวอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอินเตอร์เนตสามารถทำได้จึงเข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบันนี้
และเมื่อทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของระบบอินเตอร์เนตแล้ว จะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ ณ ที่แห่งใดบนโลกก็สามารถที่จะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปหากันได้ หรือจะเข้าไปทำการค้นคว้าหาข้อมูลที่อยู่ในแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที่ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังแหล่งข้อมูลนั้น ๆ ด้วยตนเอง เพียงแค่นั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานก็สามารถที่จะทำได้ ความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยทำได้มาก่อน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของการใช้งานก็นับว่าถูกกว่าวิธีอื่น เมื่อเทียบกับการติดต่อทางโทรศัพท์ การส่งโทรสาร และการส่งข้อมูลผ่านโมเด็มโดยตรงกับปลายทางแล้ว การใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เนตนี้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามากหลายเท่าตัว นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหลักที่ว่าทำไมถึงหันมาใช้ระบบอินเตอร์เนตกันมากขึ้น อินเตอร์เนตจึงนับว่าเป็นการปฏิวัติสังคมข่าวสารครั้งใหญ่ที่สุดในยุดปัจจุบันนี้
การสื่อสารผ่านอินเตอร์เนตนั้นมีความคล่องตัวเช่นเดียวกับการใช้โทรสาร คือ ถ้ามีบริการโทรศัพท์เข้าไปถึง ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอรกับโมเด็มต่อเข้ากับเครือข่ายของระบบอินเตอร์เนตได้เสมอ อย่างไรก็ตามถ้าเปรียบเทียบการใช้งานอินเตอร์เนตกับบริการสื่อสารต่าง ๆ ในประเทศ เช่น โทรสาร การส่งข้อมูลผ่านโมเด็ม อินเตอร์เนต อาจไม่เหมาะหรืออาจมีค่าใช้จ่ายไม่ถูกไปกว่าบริการเหล่านั้น แต่ถ้ามองถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นในแง่การติดต่อสื่อสารข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ รวมทั้งการติดต่อไปยังเครือข่ายในต่างประเทศแล้ว การใช้บริการผ่านอินเตอร์เนตจะมีข้อได้เปรียบที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด และมีราคาถูกมากกว่า

ประวัติความเป็นมาของระบบอินเตอร์เน็ต
ถ้าจะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วจะต้องย้อนหลังไปในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้ในทางทหารระบบหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือ สามารถที่จะรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรือสายรับส่งข้อมูลบางส่วนจะเสียหายหรือถูกทำลายไป ระบบเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงกันด้วยสายส่งข้อมูลที่แยกออกเป็นหลายเส้นทางประสานกันเหมือนร่างแห เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่งใน ARPANET มันจะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วทยอยส่งไปให้ปลายทางตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นย่อย ๆ นี้อาจจะไปคนละทางกัน แต่จะไปรวมกันที่ปลายทางตามลำดับที่ถูกต้องตามเดิมได้ แต่ถ้าหากว่าในระหว่างทางข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่ง (Packet) เกิดสูญหายหรือผิดพลาด อันเนื่องมากจากสัญญาณรบกวนก็ดี หรือสายส่งข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่กลางทางเสียหายหรือถูกทำลายก็ดี เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งสัญญาณกลับมาแจ้งให้คอมพิวเตอร์ต้นทางรับรู้และจัดการส่งข้อมูลเฉพาะส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทาง อื่นแทน ด้วยวิธีนี้จะสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งออกไปจะถึงปลายทางอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายเกิดความเสียหายก็ตาม และเฉพาะข้อมูลส่วนที่เสียหายเท่านั้นที่จะต้องส่งใหม่ ไม่ใช่ส่งใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นเพราะจะทำให้เสียเวลามากดังนั้น คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายของ ARPANET จะสามารถรับส่งข้อมูลไปยังปลายทางโดยใช้สายส่งข้อมูลเท่าที่เหลืออยู่ได้ และเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้นให้พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการรับส่งข้อมูลได้ตลอดเวลา
ก้าวแรกของ ARPANET ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 4 เครื่อง คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยยูทาห์, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์มเนียที่ซานตาบาบารา, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์มเนียที่ลองแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อมีการทดลองใช้งาน ARPANET จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว กระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็ได้ขยายเครือข่ายของ ARPANET ออกไป โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ รวม 50 แห่งในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งเครือข่ายของ ARPANET ในขณะนั้นใช้งานเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทางทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายของ ARPANET จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลอันเดียวกัน เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) เป็นส่วนควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และเปรียบเสมือนตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามมาตรฐาน NCP ที่ใช้ในขณะนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไปมาก ๆ ไม่ได้ จึงได้เริ่มมีการพัฒนามาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมาเรียกว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol หรือ โปรโตคอลแบบ TCP/IP ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่ ARPANET ได้วางรากฐานไว้ให้กับอินเตอร์เนต เพราะจากมาตรฐานการรับส่งข้อมูลแบบ TCP/IP นี้ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้และนับเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว โปรโตคอล TCP/IP ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปีถัดมาคือปี 2526 และถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ UNIX เวอร์ชั่น 4.2 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ใน Network ได้เพิ่มขึ้นจาก 235 เครื่องในปี 2525 เป็น 500 เครื่องในปี 2526 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 เครื่องในปี 2527
ต่อมาในปี 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ National Science Foundation (NSF) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมากอีกระบบหนึ่งเรียกว่า NSFNET ซึ่งประกอบด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเช้าด้วยกันเพื่อให้ประโยชน์ทางการศึกษาและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้ใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลเช่นกัน ทำให้การขยายตัวของ Network เป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีความต้องการที่จะเชื่อมต่อเช้ากับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้การใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์คุ้มค่าที่สุด และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ประกอบกับการรับส่งข้อมูลก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจึงเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 เครื่อง นอกจาก ARPANET และ NSFNET แล้ว ยังมีเครือข่ายอื่น ๆ อีกหลายเครือข่าย เช่น UUNET, UUCP, BITNET, CSNET ซึ่งต่อมาก็ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยมี NSFNET เป็นเครือข่ายหลักเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังหรือ backbone ของระบบ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจึงได้เพิ่มเป็นกว่า 20,000 เครื่องในปี 2530 และก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเป็น 100,000 เครื่องในปี 2532
หลังจากที่ ARPANET ได้รวมเข้ากับ NSFNET แล้วในปี 2530 เครือข่าย ARPANET ก็ค่อย ๆ ลดบทบาทลงเนื่องจากการเปลี่ยนไปใช้ความสามารถของ NSFNET แทน ตนกระทั่งในปี 2533 ก็เลิกใช้งาน ARPANET โดยสิ้นเชิง แต่จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายก็ยังคงเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณต่อไป และในปี 2534 ก็ได้มีการจัดตั้งสมาคม CIX หรือ Commercial Internet Exchange ขึ้น โดยขณะนั้นมีเครื่องคอมพิวเตอร์รวมมากกว่า 600,000 เครื่องในระบบ และเมื่ออินเตอร์เน็ตมีอายุครบรอบ 25 ปีในปี พ.ศ. 2537 จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายพุ่งสูงกว่า 2,000,000 เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
การเริ่มต้นของระบบอินเตอร์เน็ต
จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต ก่อนกำเนิดขึ้นและพัฒนาโดยต่อเนื่องมาในลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากกว่าจะเป็นการกำหนดหรือบังคับ เครือข่ายหลักหรือ backbone ของอินเตอร์เนตได้เปลี่ยนจาก ARPANET มาเป็น NSFNET แต่เนื่องจากเจ้าของ NSFNET คือ National Science Foundation (NSF) เป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรและมีงบประมาณจำกัด
จึงไม่สามารถทุ่มเทงบประมาณมาขยายขีดความสามารถของ NSFNET ให้รองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวในการใช้งานอินเตอร์เนตในเชิงพาณิชย์ได้มากนัก บรรดาผู้ให้บริการในการต่อเชื่อมกับอินเตอร์เนตหรือที่เรียกว่า Internet Service Provider หรือ ISP ทั้งหลายจึงร่วมมือกันสร้างทางอ้อมหรือ bypassข้อมูลที่เกิดจากการใช้งานเชิงพาณิชย์ทั้งหลายคือที่ไม่เกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือองค์กรต่าง ๆ ให้ไปใช้เครือข่ายหลักหรือ backbone อันอื่น ๆ แทน เลยกลายเป็นว่าอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมี backbone หลายอัน
CIX หรือ Commercial Internet Exchange เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกิดจาการร่วมมือกันของบริษัทเอกชนหลาย ๆ บริษัทในการ สร้าง backbone อันใหม่ขึ้นมาแทน NSFNET นอกจากนี้ก็ยังมี backbone อื่น ๆ เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ NSFNET ลดความสำคัญลงไป
ใน พ.ศ. 2533 NSF ได้ผลักภาระการดำเนินงานเครือข่าย NSFNET โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมิชิแกน บริษัท MIC และบริษัท IBM ตั้งเป็นบริษัท Advanced Network and Services Inc. (ANS) ขึ้นมารับจ้างดำเนินการดูแล NSFNET แทน ทำให้ NSFNET สามารถเปิดกว้างในการรองรับบริการในเชิงพาณิชย์ได้มากกว่าเดิม
ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางของอินเตอร์เน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเตอร์เนต (Internet Sociely)" ซึ้งมีสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อย ๆ (Subgroup) ภายในสมาคมอีกที่หนึ่งในบรรดา Subgroup เหล่านี้ กลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญก็คือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันเป็นผู้วางมาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย โดยตั้งเป็นคณะทำงาน 2 คณะ คือ Internet Enginerring Task Force (IETTE) และ Internet Research Task Force (IRTF) ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยแบะกำหนดมาตรฐานใหม่ ๆ เพื่อรองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตในอนาคต เช่น โปรโตคอล หรือมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย เช่น ภาพและเสียง เป็นต้น
ประโยชน์ของระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่งโลก พร้อมกับมีข้อมูลที่มากมายมหาศาลทุกประเภทให้ค้นคว้าและรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ แต่เพียงเท่านั้นคงยังไม่ทำให้เป็นถึงประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมากนัก ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมีมากมากหลายด้านต่าง ๆ กัน ดังนี้
- ด้านการศึกษา สามารถที่จะต่อเข้าไปยังระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้อินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบนจนคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่น ๆ นักวิจัยอาจสั่งให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยทำการประมวลผลข้อมูลของตนแล้วส่งรายงานกลับมาให้ได้ แม้ว่าเขาจะอยู่ในห้องทดลองที่อยู่ห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร โดยใช้บริการอินเตอร์เนต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพ และสียงหรือมัลติมีเดียต่าง ๆ
- ด้านการรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Mail กับผู้ใช้คนอื่น ๆ ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็วได้โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำมากเมื่อเทียบกับการส่งจดหมายหรือส่งข้อมูลวิธีอื่น ๆ นอกจากนั้นยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ไปจนถึงข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่เป็นภาพและเสียงได้อีกด้วย หรืออาจก็อปปี้แฟ้มข้อมูลที่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งแจกฟรีจากที่ต่าง ๆ มาทดลองใช้งานก็ได้
- ด้านธุรกิจการค้า อินเตอร์เน็ตมีบริการในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์หรือ Teleshopping สามารถที่จะเลือกดูสินค้าพร้อมทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ ผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ทันที นับเป็นความสะดวกรวดเร็วมากสินค้าที่มีจำหน่วยก็มีครบทุกประเภทเหมือนกับห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ บริษัทต่าง ๆ จึงมีการลงโฆษณาขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจลักษณะนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับเป็นการใช้งานดินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังจนบางแห่งถึงกับจัดทำแคตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์เตรียมไว้ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าก็มี แต่อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตนี้จะสะดวกสำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิตส่วนผู้ที่ไม่มีก็ทำได้ลำบาก ถ้าเป็นสินค้าที่สั่งซื้อจากผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยการซื้อสินค้าแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก
นอกจากนี้ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถามหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงการให้ข่าวสารใหม่ ๆ แก่ลูกค้าได้ รวมทั้งถ้าข่าวสารใหม่ ๆ แก่ลูกค้าได้ รวมทั้งถ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็อาจแจกจ่ายตัวโปรแกรม ทั้งตัวจริง ตัวทดลอง (Demo) ตัวแก้ไข (patch or fix) และแม้กระทั่งเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้โดยตรงอีกด้วย
- ทางด้านบันเทิง ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ผู้ใช้ได้รับมากที่สุดด้านหนึ่ง นอกจากความบันเทิงแล้วยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจหรือสนทนาการ เช่น การเลือกอ่านวารสารต่าง ๆ ที่ชื่นชอบ ผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่รียกกันว่าเป็น Magazine แบบ Online รวมถึงหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์เหมือนกับปกที่ดูอยู่ทุกวันเกือบทุกประการซึ่งขณะนี้มีบริการรับสมัครสมาชิกผ่านอินเตอร์เน็ตและให้ สมาชิกเรียกดูวารสารได้ตามที่สมัครผู้ผลิตวีดีโอ ภาพยนตร์ก็มีการลงโฆษณาและตัวอย่างหนังใหม่ ๆ ในอินเตอร์เน็ตให้ผู้สนใจกอปปี้แฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอย่างหนังสือหรือภาพเคลื่อนไหวและเสียงไปดูได้ด้วย ซึ่งนับเป็นบริการที่น่าสนใจไม่น้อย จะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตได้ปฏิวัติสังคมข่าวสารให้พัฒนารุดหน้าไปมากและให้ประโยชน์กับผู้ใช้อย่างมากมายมหาศาล อาจกล่าวได้ว่าในยุคต่อไปอาจไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้ต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต และบริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นมุมมองของผู้ใช้ข้อมูลหรือบริการทั่ว ๆ ไปแล้วในแง่ของผู้ให้ข้อมูล เช่น ผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆอินเตอร์เน็ตก็มีประโยชน์ตรงที่เป็นช่องทางสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลของตนเองได้ในวงกว้างขวางด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ และแถมยังสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช้งานอินเตอร์ได้โดยตรง การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล เรื่องราวต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งกลายเป็นช่องทางหรือเวทีในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียงแลกเปลี่ยนทัศระในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่สามารถโต้ตอบกันได้ชนิดทันต่อเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลง และค่อนข้างจะเป็นอิสระต่อการควบคุมหรือกลั่นกรองขององค์กรหรือความเปลี่ยนแปลง และค่อนข้างจะเป็นอิสระต่อการควบคุมหรือกลั่นกรองขององค์กรหรือหน่วยงานในภาครัฐของแต่ละประเทศ
ความง่าย ราคาถูกก และความรวดเร็วของการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เนตบางครั้งก็มีผลในทางตรงกันข้ามกลายเป็นการเปิดโอกาสให้ใคร ๆ ทำการเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องที่ไม่ดีไม่งามหรือเป็นการให้ร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย โดยลงทุนลงแรงเพียงเล็กน้อย แถมยังมีผลในวงกว้างไปทั่วโลกอีกด้วย
บริการต่าง ๆ ในระบบอินเตอร์เนต
เครือข่ายอินเตอร์เนตเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจจะเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮลต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่าง ๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้นเอง ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เนตสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. บริการด้านการสื่อสาร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวดเร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามากซึ่งได้แก่
- E-Mail หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับและส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) กับผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก
- Talk หรือ สนทนาแบบออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในอินเตอร์เนตได้ในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพ์ข้อความที่จะคุยเสมือนกับการคุยกันต่างกันแต่เพียงผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้ง 2 ที่ ซึ่งสนุกและรวดเร็วดี บริการนี้เรียกว่า Talk นั้นเนื่องจากใช้โปรแกรมที่มีชื่อว่า Talk ในการติดต่อกันหากว่าจะคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คนในลักษณะของการ Chat ที่เรียกว่า IRC ซึ่งย่อมาจาก Internet Relay Chat ก็ได้
- Bulletin Board หรือ กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เนตมีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือ Bulletin Board โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ จำนวนหลายพันกลุ่มเรียกว่าเป็นกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ทุก ๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารผ่านระบบดังกล่าวโดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มของผู้ที่มีความสนใจในทางศิลปะ เพลงประเภทต่าง ๆ วัฒนธรรมของทวีปนั้น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มของผู้สนใจในเรื่องราวของประเทศต่าง ๆ เช่น กลุ่ม Thai group, กลุ่ม America group เป็นต้น
- ftp หรือ บริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล ftp ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นบริการสำหรับรองรับความต้องการของผู้ที่ต้องการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการในระบบอินเตอร์เนต และต้องการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (download) ที่ผู้ใช้ต้องการมาให้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ออกไปยังเครื่องอื่น ๆ ได้ (upload) แฟ้มข้อมูลที่จะทำการรับส่งนี้จะเป็นแฟ้มข้อมูลอะไรก็ได้ไม่มีการจำกัด เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text File) แฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือเสียง เป็นต้น
- telnet เป็นการทำงานในลักษณะผู้ใช้สามารถที่จะทำงานหรือใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปตามความต้องการ โดยไม่ต้องไปที่เครื่องๆนั้นต่เหมือนกับผู้ใช้ไปที่เครื่องนั้นด้วยตัวเอง โดยการจำลองคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ให้เป็นเหมือนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเข้าไปใช้นั่นเอง
2. บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็น เรื่องหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในอินเตอร์เนตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ เก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่เอาไว้อย่างมากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการวิจัยและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือนมีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที
- Archie ผู้ใช้บริการจะทำตัวเหมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการArchie Server เพื่อค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการแต่ไม่รู้ว่าอยู่หรือถูกเก็บเอาไว้ ณ สถานที่ใด บริการ Archie นี้จะช่วยให้ผู้ใช้เสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งมีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อนจากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป บริการ Archie เกิดขึ้นเนื่องจากข้อมูลข่าวสารมากมายที่เก็บอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เนตมีเป็นจำนวนมาก จนผู้ใช้ที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลไม่รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด
- Gopher เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งจะมีเมนูให้ใช้งานได้อย่างสะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา ฐานข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นชั้น ๆ
- Hytelnet เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮลต์และชื่อ login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งานแบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮลต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วโลก
- WAIS (Wide Area Information Serviec) เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเตอร์เนต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีก ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่
- WWW (World Wide Web or Web) เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลที่ใช้วิธีการของ Hypertext โดยมีการทำงานแบบ Client-Server ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากข้อมูลจากเครื่องให้บริการซึ่งเรียกว่า Web Server หรือ Web Site โดยอาศัยโปรแกรม Web Browser ผลที่ได้จะมีการแสดงเป็น Hypertext ซึ่งปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่าแบบมัลติมีเดีย ได้และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง นับเป็นบริการที่แพร่หลายและขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเตอร์เนต ในกรณีที่บริษัทห้างร้านได้มีความต้องการจะทำงานด้านการตลาด หรือโฆษณาเพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้ทราบถึงกิจกรรมของบริษัท หรือแม้แต่จะก้าวไปถึงการซื้อขายสินค้า ก็สามารถทำได้โดยการสร้าง Web Page โดยฝากไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เนต หรือ TSP ก็ได้ หรือจะตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ Web Server ขึ้นมาเองก็ได้ และนับเป็นช่องทางการตลาดที่ดีได้อันหนึ่ง เนื่องจากผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านคนจะสามารถเข้ามาดูได้
การขยายตัวของระบบอินเตอร์เนต
การขยายตัวของระบบอินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างก้าวกระโดดหรือเป็นไปอย่างรวดเร็วนั้นเอง ช่วงแรกการขยายตัวค่อนข้างช้าเนื่องจากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีและราคาที่นับว่าแพงในสมัยนั้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ประกอบกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตในสมัยนั้นมุ่งใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านการทหารเป็นหลักอินเตอร์เน็ตจึงยังเป็นเครือข่ายปิดอยู่ต่อมาเมื่อมี การใช้งานอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษามากขึ้น จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นจากหลักพันเป็นหลักหมื่นในช่วงเวลาข้ามปีเท่านั้น
ได้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายในโลกให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันประมาฤณการว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในโลกของอินเตอร์เนตมีมากกว่า 30 ล้านเครื่องและมากกว่า 5 หมื่นเครือข่าย โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมต่อหรือโปรโตคอลที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะเรียกว่า TCP/IP เหมือนกันหมดทุกเครื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้มีผลทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
ปัจจุบันมีจำนวนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์กลางที่ให้บริการข้อมูลหรือ ซอร์ฟเวอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตมีกว่า 5 ล้านเครื่องและประมาณการกันว่าจะมีผู้ขอใช้อินเตอร์เนต (ไคลแอนต์) มากกว่า 30 ล้านคนกระจายการใช้งานกันอยู่มากกว่า 84 ประเทศทั่วทุกมุมโลก ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของผู้ที่พัฒนาเครือข่ายโดยไม่มีข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ เพียงแต่ใช้มาตรฐานเชื่อมต่อแบบ TCP/IP เท่านั้นทำให้อินเตอร์เนตสามารถเติบโตไปอย่างไม่มีขอบเขตและไม่มีขีดจำกัดโดยไม่มีใครสามารถเข้ามาควบคุมการผูกขาดทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปิดให้บริการเครือข่ายที่สามารถให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่รูปแบบหลากหลายเช่นข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยภาพกราฟิกเสียงข้อมูลและสัญญาณวิดีโอชื่อว่า World Wide Wed (WWW.) ที่ทำให้การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เนตมีความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากนอกจากนี้อินเตอร์เนตยังเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างทุก ๆ เรื่องตั้งแต่การแสดงออกทางการความคิดเห็นจนถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่อย่างไรข้อจำกัดโดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใครในโลกอภิมหาเครือข่าย
เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
หลังจากที่โลกธุรกิจค้นพบประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในราวปี 2537 อินเตอร์เน็ตก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในทุกวงการเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเชื่อมต่อกันด้วยส่งข้อมูลทุกรูปแบบตั้งแต่สายทองแดง สายเคเบิลแบบ Coaxial, สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ไปจนถึงวงจนสื่อสารผ่านดาวเทียมมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลจาก 64,000 bps (bit per second หรือบิตต่อวินาที) หรือ 64 kbps เรียกย่อ ๆ ว่า 64 K ขึ้นไปจนถึง 2 ล้านบิตต่อวินาที (2 Mbps) หรืออาจมากกว่านั้นสำหรับการเชื่อมต่อกันในเครือข่ายใหญ่ ๆ เนื่องจากนี้อินเตอร์เน็ตยังควบคุมทุกทวีปทั่วโลกจนแทบจะเรียกได้ว่าเกือบทุกประเทศในโลกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เนตแล้วเพียงแต่เป็นการเชื่อม ต่อโดยตรงหรือเชื่อมต่อทางอ้อมเท่านั้นเอง
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต
โดยปกติเมื่อต้องการต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตถ้าเป็นระบบเครือข่ายระยะใกล้หรือLAN เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการติดตั้ง LAN card เพื่อเป็นอุปกรณ์เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายด้วยความเร็วสูงมาก สื่อกลางที่ใช้ก็จะเป็นสายสัญาณพิเศษ เช่น สาย Coaxial สาย Fiber Optic หรือสาย Unshield Twisted Pair (UTP) แทนสายโทรศัพท์ ส่วนในกรณีของเครือข่ายระยะไกลหรือ WAN นั้นก็จะต้องมีโมเด็มและอุปกรณ์อื่น ๆ เพิ่มเติมดังที่ได้กล่าวแล้ว และนอกจากจะต่อเข้ากับเครือข่ายแล้ว การอ้างอิงถึงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครื่องในระบบเครือข่ายจะมีหมายเลขเฉพาะหรือ Address ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งในเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หมายเลขอ้างอิงเฉพาะนี้ เรียกว่า Internet Protocol Address หรือ IP Address นั่นเอง
ภายในเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่ออยู่นี้เปรียบเสมือนการติดต่อกันโดยโทรศัพท์แบบพูดได้พร้อมกันหลายคน และทุกคนก็ได้ยินเหมือนกันในเวลาเดียวกัน แต่ผู้ส่งข่าวสารจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งจะมีการระบุหมายเลขอ้างอิง หรือ IP Address ไปให้ด้วย เพื่อให้ผู้รับที่มี IP Address ตรงตามที่ระบุนั้นทราบว่ามีข่าวสารส่งมาถึงตนเอง ถ้ามีหมายเลข IP Address ไม่ตรงกัน เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นก็จะไม่สามารถรับข่าวสารนั้นได้ ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้หมายเลข IP Address มีความสำคัญและจะต้องไม่ซ้ำกัน ในกรณีที่จะต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเตอร์เนตนั้นจะต้องต่อเข้กับระบบเครือข่ายของหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนตหรือ Internet Service Provider (ISP) เช่น หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษารวมถึงผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์รายต่าง ๆ ส่วนการต่อออกไปยังอินเตอร์เนตที่ต่อประเทศโดยตรงนั้น โดยทางเทคนิคแล้วเป็นไปได้ก็จริง แต่ก็คงไม่มีผู้ใช้วิธีนี้ไม่มากนัก เพราะนอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น คู่สายทางไกลไปต่างประเทศเดือนละหลายแสนบาทแล้ว และค่าบริการให้แก่หน่วยงานที่เป็น ISP ของต่อประเทศอีกด้วยแล้ว ยังถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎหมายไทย เช่น ระบบที่ต่อเข้าไปนี้จะต้องไม่นำไปใช้เพื่อให้หรือขายบริการต่อแก่ผู้ใช้อื่น ๆ คือใช้ได้เฉพาะในองค์กรของตนเองเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับหน่วยงานที่เป็น Internet Service Provider (ISP) เหล่านี้ก็จะมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมไปสู่อินเตอร์เน็ตในต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ใช้ที่ ต้องใช้งานอินเตอร์เนตก็จะมีวิธีในการเชื่อมต่อเข้าสู่ Internet Server Provider(ISP)
1. แบบแรก เชื่อต่อกันโดยตรง(Direct) เขากับเครือข่ายของการให้บริการ อินเตอร์เนต(ISP)ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม
2. แบบที่สอง เชื่อมต่อด้วยระบบโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต โปรโตรคอล Addresss หรือIP Address โดยการโทรเข้าในแต่ละครั้งใช้บริการ (Dialup IP)
3. แบบที่สามเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ โดยใช้งานเป็นเจอเทอร์มินัลบนเครื่องของผู้ใช้บริการ อินเตอร์เน็ต (Terminal Emulation)
การเชื่อมต่อกันโดยตรง (Direct Connection)
ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบโดยตรงหมายถึงผู้ใช้มีเครือข่าย lan หรือเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันก็ตาม ที่ยากจะเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เนตเพื่อใช้บริการต่างๆ ได้ตลอดเวลา โดยต้องไม่ลืมว่าที่จำเป็นต้องมีคือการติดต่อด้วยโปรโตคอล เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานต้องมีI p ที่ได้รับมาเป็นหมายเลขอ้างอิง จากหน่วยงาน Internic หรือได้รับการจัดสรรมาจากหน่วยงานเรียบร้อยแล้วมีหมายเลข IP ๙งหมายเลขนี้จะได้มาจาก Internic นั่นเองการเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ routerทำหน้าที่เป็นGatewey เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน สายสัญญานสื่อกลางที่เชื่อมเข้าด้วยกัน อาจจะเป็นสายพิเศษ เช่น (Leased Line, ISDN หรือ DataNet), Microwave link, Fiber Optic หรือดาวเทียมก็ได้ โดยมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตั้งแต่ 9,600 บิตต่อวินาทีไปจนถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที ในส่วนของวงจรที่เชื่อมต่อออกไปอินเตอร์เนตนั้น ถ้าเชื่อมต่อผ่านหน่วยงานที่เป็น ISP ในประเทศไทย เมื่อหาสายสัญญาณต่อไปยังระบบของ ISP รายนั้นได้ก็เป็นอันจบ แต่ถ้าเป็นการต่อออกไปยังต่างประเทศโดยตรงนั้นก็จะต้องเช่าวงจรต่อผ่านที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย เมื่อเชื่อมต่อกันแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย LAN ทางด้านผู้ใช้ก็จะสามารถใช้บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เนตได้อย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นแบบ text หรือกราฟฟิกก็ตาม ทั้งนี้อุปกรณ์ที่เป็น Gateway จะทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ออกไปยังเครือข่ายอื่น ๆ ในอินเตอร์เนตต่อไป
ถ้าระบบ LAN ที่มีใช้งานเป็นระบบ Unix ก็จะมีโปรโตคอล TCP/IP ให้ใช้งานได้ทันทีทำให้เชื่อมเครือข่ายได้สะดวก เมื่อเชื่อมต่อแล้วสิ่งที่ได้คือ ผู้ใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าวจะมีสิทธิเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในอินเตอร์เนตเครื่องอื่น ๆ สามารถใช้บริการได้เต็มรูปแบบ ซึ่งหน่วยงานที่เป็น ISP เองส่วนใหญ่ก็จะใช้การเชื่อมต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน โดยต่อไปยัง ISP รายใหญ่ที่อยู่ในต่างประเทศอีกที่หนึ่ง ซึ่ง ISP เหล่านั้นก็มักจะเชื่อมกับ Network หลักหรือ backbone ของอินเตอร์เนตโดยตรง การที่เราไปผ่าน ISP ในประเทศอีกทอดหนึ่งนั้นก็เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของค่า เช่นคู่สายทางไกลต่างประเทศ และค่าบริการของ ISP รายใหญ่ในต่างประเทศนั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นว่าระบบเครือข่ายหนึ่งๆที่ต่อเชื่อมเข้าอยู่ในอินเตอร์เนตจะต้องมีการติดต่อกันด้วยโปรโตคอล ICP/IP และมีอุปกรณ์ Gateway อย่างน้อย 1 ตัวเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เนต สำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไปมักจะใช้อุปกรณ์ Router ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายและที่สำคัญคือเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลาหรือ 24 ชั่วโมง จะใช้บริการเมื่อไหร่ก็ได้ทันทีแต่ถ้าผู้ใช้ไม่ได้เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายโดยตรง แต่จะใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์เชื่อมเข้าสู่ระบบเป็นครั้งคราวเฉพาะเมื่อต้องการใช้บริการเท่านั้น ก็จะต้องเปลี่ยนวิธีการไปเชื่อมต่อแบบที่เรียกว่า Dialup IP ที่มีการสื่อสารด้วยโปรโตคอล S LIP หรือ PPP ในการสื่อสารแทน
การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
ถ้าผู้ใช้บริการไม่สะดวกในการเชื่อมต่อโดยตรงตลอดเวลากับหน่วยงาน ISP หรือไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายต่อวงจรออกไปต่างประเทศเอง ก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้โดยการสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงาน ISP เพื่อขอใช้บริการอินเตอร์เน็ต ในแบบ Dialup IP คือแบบที่ใช้โปรโตคอล SLIP/PPP หรือที่ ISP ส่วนใหญ่มักเรียกว่า การมให้บริการแบบกราฟิกนั่นเอง ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เครื่องเดียวที่จะใช้งานอินเตอร์เนตก็สามารถเชื่อมต่อโดยใช้โมเด็มและใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อสัญญาณ โดยเมื่อใช้โมเด็มติดต่อไปที่โมเด็มฝั่งของหน่วยงาน ISP และเชื่อมโยงกันแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ฝั่งสมาชิกก็จะกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายของหน่วยงาน ISP นั้นทันที โดยโมเด็มจะทำหน้าที่เสมือน LAN Card และเนื่องจากระบบเครือข่ายของ ISP เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง ดังนั้นก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นมีสภาพเหมือนกับต่อตรงเข้ากับอินเตอร์เนตโดยอัตโนมัติในการเชื่อมต่อแบบ Dialup IP นี้โปรโตคอลที่ใช้ติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายของหน่วยงาน ISP ก็จะเป็น SLIP หรือ PPP แทนโปรโตคอล TCP/IP แต่ในภาพรวมแล้วโปรโตคอลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อออกไปยังอินเตอร์เนตนั้นก็ยังเป็น TCP/IP เหมือนเดิม
สิ่งที่ได้เมื่อต่อใช้บริการอินเตอร์เนตโดยการติดต่อแบบ Dialup IP คือเครื่องคอมพิวเตอร์ของสมาชิกสามารถใช้บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เนตได้อย่างเต็มรูปเหมือนกับการต่อโดยตรง (Direct Connection) แต่มีความเร็วในการสื่อสารช้ากว่าการต่อแบบโดยตรง เพราะโมเด็มที่ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาจะมีความเร็วในการสื่อสารตั้งแต่ 9,600 bps ถึง 28.8 Kbps เท่านั้นแต่ความเร็วดังกล่าวขึ้นกับความเร็วของโมเด็มของผู้ใช้และโมเด็มที่ติดตั้งที่หน่วยงาน ISP ด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ใช้จะต้องมีโมเด็ม โปรแกรมสำหรับหมุนโทรศัพท์หรือ dialer และโปรแกรม TCP/IP Protocol Stack ใช้งานอยู่ ส่วนด้านหน่วยงาน ISP ก็จะต้องมีโปรแกรมสำหรับรองรับการติดต่อในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน
การติดต่อสมัครใช้งานอินเตอร์เนตแบบนี้หน่วยงาน ISP จะให้ชื่อผู้ใช้หรือ user account และรหัสผ่านหรือ password แก่สมาชิกจากที่สมัครของใช้บริการแล้ว โดย ISP จะอนุญาตให้ผู้ใช้คนนั้นใช้งานติดต่อเป็น Dialup IP เข้ากับเครือข่ายของตนได้ และจะให้โปรแกรมที่จำเป็นในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มาด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการอินเตอร์เนตในแบบกราฟิกได้ทันที
การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ โดยใช้งานเป็นเทอร์นิมัลของอินเตอร์เน็ต (Terminal Emulation)
สำหรับผู้ใช้ที่ไม่อยากใช้งานแบบกราฟิกก็สามารถสมัครใช้บริการกับหน่วยงาน ISP ในแบบเทอร์นิมัลหรือเรียกว่าแบบตัวอักษรก็ได้ วิธีการ คือ สมาชิกผู้ใช้มีโมเด็มที่หมุนโทรศัพท์ติดต่อเข้าสู่หน่วยงาน ISP โดยทำงานแบบ Terminal Emulator คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะทำหน้าที่เหมือนเทอร์นินัลของโฮสต์คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่อยู่ในเครือข่ายของหน่วยงาน ISP แบบนี้เรียกว่าเป็นการใช้งานอินเตอร์เนตแบบตัวอักษรหรือแบบเทอร์มินัล ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากเมื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตแล้ว คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะทำหน้าที่เหมือนเป็นจอเทอร์มินัลของระบบ Unix ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต การใช้บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เนตก็จะลดหย่อนความสามารถลงไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีให้ใช้งานเกือบทั้งหมดเพียงแต่อยู่ในรูปของตัวอักษรเท่านั้น ไม่มีภาพกราฟิกสีสวยงามให้เห็น และกลไกการทำงานภายในก็แตกต่างกัน เพราะการใช้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตในกรณีนี้ โฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้าไปเป็นเทอร์มินัลจะเป็นผู้ติดต่อกับเครื่องที่ให้บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต จากนั้นก็ทำการประมวลผล แล้วจึงส่งผลที่ได้ที่มีแต่ข้อความ (Text) มาที่เทอร์มินัล ก็คือ เครื่อวคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ดังนั้น สิ่งที่จำกัดว่าจะใช้บริการอะไรได้บ้างก็อยู่ที่ว่าโฮสต์เครื่องนั้นทำอะไร โปรแกรมที่ใช้บริการอะไรของอินเตอร์เน็ตได้บ้าง ส่วนเครื่องของผู้ใช้ไม่ต้องมีโปรแกรมอะไรเลย

เมื่อสมัครใช้บริการอินเตอร์เนตแบบเทอ์มินัลแล้ว ผู้ใช้ก็จะได้รับชื่อผู้ใช้หรือ user account และรหัสผ่านหรือ password และโปรแกรมที่จำเป็นในการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งมักจะรวมเอาความสามารถในการเป็น Terminal Emulator ไว้ด้วยแล้ว แต่ผู้ใช้อาจจะหาซื้อซอฟแวร์สื่อสารอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ให้มาเพื่อมาใช้งานแทนได้
ผู้ต้องการใช้เครือข่ายอินเตอร์เนตมักจะคิดว่า แค่เพียงสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทที่ทำหน้าที่ Internet Service Provider (ISP) หรือที่เรียกกันว่า "บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เนต" แล้วก็จะสามารถเรียกใช้บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์นตได้ทันที ความเป็นจริงแล้วก็ถูกต้องเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ถ้าผู้ใช้มีความต้องการใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เนตได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การเชื่อมต่อของระบบ ว่าระบบนั้นทำงานได้อย่างไร ที่ใช้งานกันอยู่นั้นมีกลไก อย่างไร แล้วเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งานต่าง ๆ ขึ้นก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและในงานอินเตอร์เนตได้อย่างราบรื่น สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นได้ รวมถึงการใช้งานได้อย่างคุ้มค่าสมาชิกที่ต้องเสียไปทุก ๆ เดือน
หมายเลข (IP Address)
การสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตที่มีโปรโตคอล ICP/IP เป็นมาตรฐานนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหลายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อเรียกให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวจะเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางที่ก็เรียกว่า แอดเดรส IP ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่า ๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1=255 เท่านั้น เช่น 161.246.10.21 เป็นต้น
ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่มีใช้กันอยู่และไม่ซ้ำกันเพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับต่อกันไปเรื่อย ๆ แต่ละมีการจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใด ๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหลายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมรับหมายเลข Network แล้วจะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจนและมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจะจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เนตและให้บริการต่าง ๆ สามารถของหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอใช้บริการอินเตอร์เนตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อ ๆ ว่า ISP รายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่งคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการด้วย
IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับ คือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ของเครือข่ายนั่นเองถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับจะเห็นว่าหมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และมีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224=16 ล้านเครื่อง เหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้จะมีหมายเลขเครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต ส่วนอีก 2 บิต ทีเหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102 ดังนั้น จึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วน 3 บิตแรกบังคับว่าจะต้องเป็น 1102 ดังนั้นในแต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย 28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254 ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเราเชื่อมต่อยู่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า หรือส่วน Network Addressโดย
1. Class A จะมี Network Address ตั้งแต่ 0 ถึง 127
2. Class B จะมี Network Address ตั้งแต่ 128 ถึง 191
3. Class C จะมี Network Address ตั้งแต่ 192 ถึง 223
เมื่อเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP Address ให้ใช้อ้างอิงได้ไม่ซ้ำกันและมีความหมายทำให้ทราบถึงขนาดเครือข่ายแล้ว การติดต่อส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจึงกระทำได้ไม่สับสน
Domain Name System (DNS)
การสื่อสารกันในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล ICP/IP คุยกันโดยจะต้องมีหมายเลข IP Address ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP Address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรค ในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP Address ดูจะเป็นเรื่องยากและอาจสับสนหรือจำผิดได้ แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า และมีความแม่นยำมากกว่า ทั้งนี้หากเกิดกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเสียหรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากหมายเลข IP หนึ่งไปเป็นอีกหมายเลขหนึ่ง ผู้ใช้ที่อ้างอิงถึงชื่อของ IP Address นั้น ๆ ก็จะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้นและยังคงที่จะสามารถใช้งานได้ต่อไปเหมือนเดิม
สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เนตได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ Name to Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (Hierachical Structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษ ที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โดยสร้างฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึงประเภทขององค์กร หรือ ชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
ตัวอย่างชื่อ Domain ระดับบนสุดได้แก่
ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็กโดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่าง ๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะกำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะหรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย
ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล Name to IP Address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตสามารถอ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่ง ๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อและจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดในตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด
                ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การจัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่งก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูลในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั่นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วยขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง ส่วนเครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่ง ๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมาเพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่น ๆ ที่ตนรูจักจนกว่าจะพบหรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รูจัก หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้นเกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องไหนรู้จักเช่นกัน
การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยากโดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ BR>
User _name@ subdonain_name . subdomain_name…[…] . domain_name
- user_name จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใด ๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง
- E-Mail ท้ายชื่อ User จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า แอท หมายถึง อยู่ที่เครื่องแบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ
- subdomain_name เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่าง ๆ ใน Domain นั้น เช่น กรณีที่มีหลายหน่วยงานในบริษัท จะจัดเป็นกลุ่ม ๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน Subdomain ต่าง ๆ ซึ่งในที่หนึ่ง ๆ อาจจะมี Subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ Subdomain ตัวสุดท้ายมักจะเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง
- domain_name ตามปกติชื่อ Domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้น ๆ
ในกรณีที่ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกใช้บริการอินเตอร์เนตจากบริษัทผู้ให้บริการ (ISP) ใด ๆ ก็ตามจะได้รับชื่อประจำตัวเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงในการรับ-ส่ง E-Mail ในอินเตอร์เนตเวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-Mail จะใช้ชื่อประจำตัวนี้เป็นชื่ออ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้น ๆ หรือเรียกว่าเป็น E-Mail Address นั่นเอง
ผู้ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต
ผู้ใช้ในระบบอินเตอร์เนตนั้น ถ้าจะแบ่งแยกตามประเภทของบริการหรือข้อมูลในอินเตอร์เนตออกเป็นกลุ่ม ๆ ก็อาจจะแบ่งผู้ใช้อินเตอร์เนตตามกลุ่มนั้น ๆ ได้ เช่น กลุ่มทางด้านการศึกษา ผู้ใช้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ใช้ระบบอินเตอร์เนตเป็นแหล่งของการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ แลกเปลี่ยนผลงานการวิจัย และส่ง E-mail ระหว่างมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งทางภาครัฐต่าง ๆ ที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่นกัน ผู้ใช้มักจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทางด้านธุรกิจและการค้า ผู้ใช้จะเป็นบริษัทต่าง ๆ ซึ่งประกอบธุรกิจการค้าและบริการทุกประเภท ซึ่งผู้ใช้กลุ่มนี้มีทั้งผู้ผลิต ผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้อินเตอร์เน็ตในการโฆษณาขายสินค้ารวมทั้งให้ข้อมูลสินค้าต่าง ๆ แก่ผู้ซื้อ ข้อมูลทางการเงิน ตลาดหุ้นและข่าวสารเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่สำคัญกลุ่มหนึ่งในปัจจุบัน
ทางด้านบันเทิง ผู้ใช้ในกลุ่มนี้มักจะเป็นบุคคลทั่วไป ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ใช้หาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ วารสาร เกมส์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือซอฟแวร์ ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้ในกลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ก่อนแล้วต้องการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เนตเพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการหรือสนใจโดยไม่จำกัดประเภท
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตขยายตัวออกไปในเกือบทุกวงการ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกสาขาวิชา สามารถใช้อินเตอร์เนตเป็นแหล่งข้อมูลได้ทั้งหมด จึงยากที่จะแบ่งแยกกลุ่มของผู้ใช้ออกจากกันได้อย่างชัดเจน
การติดต่อกับผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ต
การติดต่อกับผู้อื่นบนอินเตอร์เนตนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่ใช้บริการอินเตอร์เนตเช่นกันคือจะมีชื่ออยู่ในฐานะของผู้ใช้อินเตอร์เนตที่เรียกว่า ชื่อผู้ใช้ (User Name) คั่นด้วยเครื่องหมาย @ ซึ่งหมายถึง อยู่บนเครื่อง หรือ at ตามด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ที่บุคคลนั้นใช้บริการอยู่ ซึ่งชื่อนี้ถ้าจะเปรียบไปก็เหมือนกันกับการติดต่อหากันทางไปรษณีย์ธรรมดาที่จะต้องรู้ชื่อที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อจึงจะติดต่อหากันได้ ตัวอย่างเช่น
ArochaC@datamat.co.th หรือ/BR>
poom@bumrungrad.com หรือ
s9061235@kmitl.ac.th หรือ
จะสังเกตเห็นได้ว่าแต่ละชื่อที่ยกตัวอย่างมีความแตกต่างกัน ซึ่งชื่อของผู้ใช้ในระบบอินเตอร์เนตสามารถแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- ชื่อผู้ใช้แต่ละคน การตั้งชื่อหรือใช้ชื่อนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งจะไม่ซ้ำกันในแต่ละกลุ่มขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ในที่นี้คือ
ArochaC ใช้ชื่อจริงต่อท้ายด้วยตัวแรกของนามสกุล
Poom ใช้ชื่อจริง
S9061235 กำหนดเป็นรหัสไม่อ้างอิงถึงชื่อหรือนามสกุล
- ชื่อผู้ให้บริการอินเตอร์เนต
- กลุ่มการให้บริการ
- ประเทศของผู้ให้บริการ
ตัวอย่าง
- ArochaC@datamat.co.th
ArochaC ชื่อผู้ใช้
datamat ชื่อผู้ให้บริการอินเตอร์เนต - บริษัท ดาต้าแมท จำกัด
co กลุ่มการให้บริการ - องค์กรธุรกิจ
th ประเทศของผู้ให้บริการ - ประเทศไทย
- poom@brmrungrad.com
poom ชื่อผู้ใช้
bumrungrad ชื่อผู้ให้บริการอินเตอร์เนต - โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
com กลุ่มการให้บริการ - องค์กรธุรกิจ
- s9061235@kmitl.ac.th
s9061235 ชื่อผู้ใช้
kmitl ชื่อผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเนต - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ac กลุ่มการให้บริการ - สถาบันการศึกษา
th ประเทศของผู้ให้บริการ - ประเทศไทย



                ชื่อย่อต่าง ๆ นี้เป็นชื่อย่อที่พบเห็นกันได้บ่อย ๆ ในการทำงานหรือการใช้งานยังมีประเทศหรือกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในแบบอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับชื่อของผู้ใช้ที่ไม่มีประเทศต่อท้ายส่วนใหญ่จะหมายถึงอยู่หรือระบบเครือข่ายไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งประเทศต้นคิดของอินเตอร์เนต จะเห็นได้ว่ากลุ่มเครือข่ายที่ลงท้ายด้วย .com .gov .mil หรือ .org นั่นก็มักจะเป็นระบบเครือข่ายที่จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนที่จดทะเบียนในประเทศอื่น ๆ อาจจะใช้ตัวย่อบอกประเภทของหน่วยงานต่างไปจากที่กล่าวข้างต้น เช่น .co.th แทน .com.th หรือ .ac.th แทน .edu.th เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เนตหลายล้านคนในแทบทุกประเทศ ชื่อบุคคล ชื่อบริษัท และชื่อสถาบันเหล่านี้ เป็นชื่อที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารหรือส่งข่าวถึงกันได้ทั้งสิ้นผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตขยายตัวออกไปในเกือบทุกวงการ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกสาขาวิชา ฉะนั้นอินเตอร์เนตจึงเสมือนสังคมอีกสังคมหนึ่งที่ผสมผสานอยู่กับสังคมในปัจจุบันของเราแต่ก็ใช่ว่าผู้ใช้อินเตอร์เนตทุกคนจะต้องรู้จักกันทั้งหมด เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้ที่รู้จักกันมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือมีความสนใจในสิ่งเดียวกัน
การรับส่งข้อมูลภาพและเสียงผ่านทางอินเตอร์เน็ต
สิ่งที่ทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตโดเด่นขึ้นมาเหนือบริการสื่อสารข้อมูลสมัยก่อนก็คือความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลกราฟิก รวมถึงข้อมูลที่เป็นเสียงและภาพเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่ามัลติมีเดีย ซึ่งในการสื่อสารข้อมูลสมัยก่อนทำได้ลำบากเนื่องจากเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นเทคโนโลยีส่งข้อมูลผ่านโมเด็มและเทคโนโลยีของการบีบขนาดของข้อมูลและเสียงยังไม่ก้าวหน้าพอ
โมเด็มในช่วงไม่กี่ปีก่อนมีความเร็วสูงสุดในการรับส่งข้อมูลเพียง 9,600 บิต/วินาที ซึ่งใช้ได้แต่รับส่งข้อมูลที่เป็นข้อความแต่ช้าเกินไปสำหรับข้อมูลที่เป็นภาพและสียงและยังมีราคาแพงมากถึงเครื่องละหลายหมื่นบาท ต่อมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการรับส่งข้อมูลผ่านโมเด็มให้สูงขึ้นเป็น 14,400 บิต/วินาที เรียกว่ามาตรฐาน V.32 bis และมาตรฐานใหม่ที่รับข้อมูลได้สูงสุดถึง 28,800 บิต/วินาที เรียกว่ามาตรฐาน V.34 bis ก็ถูกลงมากเหลือเพียงเครื่องไม่ถึงหมื่นบาทและกำลังลดราคาเรื่อย ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เน็ตได้ในราคาถูกผ่านสายโทรศัพท์โดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพียงพอ ที่จะรับมือกับปริมาณมหาศาลของข้อมูลที่เป็นภาพเสียงและภาพเคลื่อนไหวได้
เทคโนโลยีในการบีบขนาดของข้อมูลเสียงและภาพเคลื่อนไหวช่วยทำให้การส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นในสายส่งข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่เมื่อรวมกับความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้นของโมเด็มแล้วก็ทำให้การรับส่งข้อมูลภาพเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่านเครือข่ายอินเตอร์ผ่านได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในอดีตโดยใช้เวลาการรับส่งข้อมูลไม่นานเกินไปนักแต่ถึงความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านโมเด็มและเทคนิคการบีบขนาดของข้อมูลจะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นมากแต่ในปัจจุบันการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็คงใช้เวลานานพอสมควรซึ่งนับว่ายังไม่รวดเร็วทันใจพอเท่าที่ควร
อนาคตของระบบอินเตอร์เน็ต
จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตและประโยชน์มหาศาลของบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ทำให้อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญอย่างยิ่งในหารประติวัติสังคมข้อมูลข่าวสารของเราในอนาคตผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นและไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตจะเปรียบเสมือนกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออกหรือถูกโดดเดี่ยวจากข้อมูลข่าวสารและสื่อสารต่อ ๆ กับผู้อื่นได้ไม่ทันเหตุการณ์เหมือนกับบริษัทต่าง ๆ ในทุกวันนี้จะต้องมีเครื่องโทรสารไว้ใช้ติดต่อธุรกิจกับผู้อื่นซึ่งถ้าหากว่าบริษัทใดไม่มีเครื่องโทรสารไว้ใช้ก็คงลำบากไม่น้อย แต่อินเตอร์เน็ตจะมีผลกระทบที่กว้างกว่าคือมีผลถึงในระดับแต่ละบุคคลไม่ใช่แค่ระดับองค์กรหรือโทรศัพท์ดังนั้นจึงพอที่คลาดหมายได้ว่าการขยายตัวของอินเตอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทวีคูณต่อไปอีกนานหลายปี เพราะขนาดนี้ถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
เพื่อให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถรองรับการขยายตัวดังกล่าวประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มีการเตรียมพร้อมโดยพัฒนาระบบสื่อสารภายในประเทศและภายนอกประเทศให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเซีย
เมื่อการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้สูงขึ้นแล้วการรับส่งภาพเสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่านอินเตอร์เน็ตก็จะรวดเร็วยิ่งขึ้นจนมีคุณสมบัติแบบมัลติมีเดียอย่างแท้จริงคือสามารถรับข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างทันทีทันใดบริการในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้นและใช้ประโยชน์จากการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การค้นหาข้อมูล การประชุไกล การซื้อขายสินค้า จนถึงการบันเทิง และเกมส์ต่าง ๆ
เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับอินเตอร์เตที่ปัจจุบันต่อผ่านโมเด็มทางสายโทรศัพท์มีความเร็วสูงขนาดนี้ 56,600 บิต/วินาที ก็จะได้รับการพัฒนาให้เร็วขึ้นซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองทางคือทางแรกโมเด็มจะถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้น โดยยังคงรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ตามเดิมเพื่อทุก ๆ คนสามารถติต่อเข้าอินเตอร์เน็ตได้ง่ายมากที่สุด สะดวกที่สุด และมีราคาถูกที่สุด ขอเพียงให้มีบริการโทรศัพท์ไปถึงก็สามารถติดต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ส่วนทางที่สองคือ ใช้สายส่งข้อมูลอย่างอื่นที่ไม่ใช่โทรศัพท์ในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตซึ่งอาจจะเป็นบริการ ISDN (Integrated Service Digital Network) ที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ 64,000 บิต/วินาที จนถึง 2 ล้านบิต/วินาที หรืออาจเป็นสายรับส่งข้อมูลความเร็วสูงต่อตรงจากบ้านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบิต/วินาที ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้คงจะเริ่มใช้กันในเขตธุรกิจหรือเมืองใหญ่ ๆ ก่อนแล้วค่อยขยายบริการออกไป
อินเตอร์เน็ตจะขยายตัวเข้าไปในทุกหนทุกแห่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งตามบ้านด้วยเพราะไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวเท่านั้นที่มีโครงการขยายเครือข่ายการสื่อสารในประเทศของตนเพื่อรับการขยายตัวของอินเตอร์เนต ประเทศอื่น ๆ ก็มีโครงการในลักษณะดังกล่าวด้วยเช่นกัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์หรือบริการสื่อสารจะต้องพร้อมที่จะให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแก่ลูกค้า เพื่อที่จะเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือตามบริษัทเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เนตแม้ว่าในปัจจุบันบริการดังกล่าวยังคงมีราคาแพงอยู่ แต่ในอนาคตเมื่อมีผู้ใช้มากขึ้นราคาก็จะลดลงจนถึงขั้นที่สายรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนตจะมาพร้อมบริการโทรศัพท์ด้วยราคาที่ถูกพอ ๆ กับค่าโทรศัพท์ในปัจจุบัน การใช้งานอินเตอร์เนตในอนาคตคงไม่แตกต่างจากการใช้โทรสารติดต่อรับส่งเอกสารกันอย่างเช่นทุกวันนี้เท่าใดนักเพียงแต่จะใช้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า และสามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ภาพและเสียงผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง
มุมมืดบนระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม แต่อินเตอร์เนตเองก็มีข้อเสียที่ต้องพึงระวังอยู่เหมือนกันเพราะอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่าอินเตอร์เนตเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นคุณประโยชน์หรือเรื่องโฆษณาชวนเชื่อม โจมตีให้ร้ายกันหรือเป็นเรื่องที่อาจเป็นปกติในสังคมหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ขัดกับศีลธรรมของอีกสังคมหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต อินเตอร์เนตจึงถือเป็นดาบสองคมที่ผู้ใช้ควรจะมีวิจารณญาณในการใช้ด้วย