วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย

                                                บทที่  การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย

            Network Communication หมายถึง ระบบการสื่อสารของ Network นั่นเอง ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ทั้งนี้การตัดสินใจเลือกรูปแบบใดมาใช้งานนั้นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยประกอบหลาย ๆ อย่าง เข่น ชนิดของ Cable แลชนิดของ Network เป็นต้น
            สิ่งที่จะศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้ได้แก่
            1. ชนิดของ Cable
            2. ชนิดของ Network
            3. มาตรฐานอุตสาหกรรมของ Network

            ชนิดของ Cable

            Cable หรือสายส่งข้อมูล เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในระบบ Network ที่ใช้เป็นทางเดินของข้อมูลระหว่าง Workstation กับ File Server มีลักษณะคล้ายสายไฟ หรือสายโทรศัพท์ แล้วแต่ละชนิดของ Cable แต่การเลือกใช้ Cable นั้น ควรคำนึงถึงความปลอดภัย (Safety) และคลื่นรบกวน (Interference) เป็นสำคัญ Cable ที่ดีไม่ควรเป็นตัวนำไฟเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นและสามารถป้องกันคลื่นรบกวนจากอำนาจแม่เหล็ก (Electromagnetic Interference - EMI) และคลื่นวิทยุได้ (Radio Frequency Interferace - RFI)
             1. Coaxial Cable หรือสาย Coax นอกจากใช้ในระบบ LAN แล้วยังสามารถนำไปใช้กับระบบ TV และ Mainframe ได้ด้วย สาย Coax นั้นเป็นสายที่ประกอบไปด้วยแกนของทองแดงหุ้มห่อด้วยฉนวนและสานดินซึ่งมีลักษณะเป็นฝอย แล้วหุ้มด้วยฉนวนบางอีกชั้นหนึ่ง
            ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากลวดทองแดงเป็นลวดเงินที่พันกันหลาย ๆ เส้นแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการรบกวนที่เรียกว่า "Cross Talk" ซึ่งเป็นการรบกวนที่เกิดจากสายสัญญานข้างเคียงดังนั้นจึงออกแบบให้กลายเป็นเส้นเล็กพันเป็นเกลียวนั่นเอง

Coaxial Cable แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
                 - Thick Coaxial (ชนิดหนา) แบบ Thick จะเดินได้เป็นระยะทางที่ไกลกว่า คือ 500 เมตร ส่วน Thin จะเดินได้สูงสุดเพียง 200 เมตร แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ Network Card ที่ดีด้วย
                 - Thin Coaxial Cable (ชนิดบาง) ข้อดีของ Coaxial Cable คือ ปลอดภัยจากการถูกรบกวน อีกทั้งตัวสายเองก็ไม่ไปรบกวนผู้อื่น และสามารถทำงานที่มีความเร็วสูงถึง 100 MBITS ต่อวินาที นอกจากนั้นยังง่ายในการติดตั้ง จึงทำให้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
            2. Twisted Pair Cable เป็นสายส่งสัญญาณทีประกอบไปด้วยสายทองแดง 2 เส้นขึ้นไปบิดกันเป็นเกลียว (Twist) และหุ้มด้วยฉนวน โดยแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบไม่มี Shield และมี Shield ซึ่ง Shield นี้คือฉนวนในการป้องกันสัญญาณรบกวนหรือระบบป้องกันสัญญาณรบกวนโดยจะเรียก Cable ทั้ง 2 ชนิดนี้ว่า Unshield Twisted Pair (UTP) และ Shield Twisted Pair (STP) สาย UTP เป็นสายที่มีราคาถูกและหาง่ายแต่ป้องกันสัญญาณรบกวน EMI ได้ไม่ดีเท่ากับสายแบบ STP
             สาย Twisted Pair ถูกจัดแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ 5 ระดับ ตามคุณภาพ คือ Type 1, 2, 3, 4, และ 5
                 - Level 1 สำหรับการสื่อสารแบบเสียง (Voice)
                 - Level 2 ใช้ได้ทั้งการสื่อสารแบบเสียงและข้อมูล ชนิดนี้ไม่นำมาใช้ใน Network
                 - Level 3 ใช้ได้เช่นเดียวกับ Level 2 ความเร็ว 16 MHz. อัตราการส่งข้อมูลคือ 10 เมกะบิตต่อวินาที่ มักใช้กับระบบ 10 BASE-T
                 - Level 4 สำหรับระบบ 4 Mbps Token Ring และ 10 BASE-T ขนาดใหญ่ความเร็ว 20 MHz. อัตราการส่งข้อมูลคือ 16 เมกะบิตต่อวินาที
                - Level 5 ใช้สำหรับ Network ที่ต้องการความเร็วสูง ซึ่งความเร็วที่วัดได้มีค่าสูงถึง 100 MHz. อัตราการส่งข้อมูลคือ 100 เมกะบิตต่อวินาที
            ปัจจุบันจะใช้แบบ Level 5 เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากราคาถูกลงมาก และสามารถใช้ได้ทั้งความเร็วแบบ 10 Mbps และ 100 Mbps
            3. Fiber Optic Cable หรือ Cable ใยแก้ว เป็น Cable ชนิดใหม่ล่าสุด ประกอบไปด้วยท่อใยแก้วที่มีขนาดเล็กและบางมากเรียกว่า CORE ล้อมรอบด้วยชั้นของใยแก้วที่เรียกว่า CLADDING อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงถึง 565 เมกะบิตต่อวินาที่ หรือมากกว่า ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีมาก ขนาดของสายเล็กมากและเบามาก แต่มีราคาแพง ปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

            กฎเกณฑ์ทั่วไปในการติดตั้ง Cable
            1. ข้อกำหนดของสาย ตรวจสอบให้แน่ใจในเรื่องความยาวของสายค่าความต้านทานรวมทั้งชนิดของ Terminator ที่ใช้และการติดตั้งสายดิน (Ground) ที่ถูกต้อง
            2. ทดสอบสายสัญญาณให้ถูกต้องก่อนการติดต่อ โดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ เช่น Multimeter เพื่อวัดความต้านทาน วัดขั้วต่อสัญญาณระหว่างขั้วสัญญาณ Ground ว่าช็อตกันหรือไม่
            3. กำหนดความยืดหยุ่นในการเดินสาย อย่าเดินสายให้ตึงจนเกินไป ควรปล่อยให้หย่อนสักนิด อย่าเดินสายหักมุม หากเดินในสายที่พลุกพล่านให้ฝังกับพื้นบนผนังในกำแพงหรือใส่ท่อ ร้อยสาย
            4. หลีกเลี่ยงการเดินสายคู่กับสายสัญญาณหรือสายไฟฟ้าแรงสูง

            ชนิดของ Network
            ชนิดของ Network สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
            1. Topology หรือแนวความคิดในการเชื่อมต่อสายส่งข้อมูล เช่น วิธีแบบ Star, Ring หรือ Bus เป็นต้น
            2. Network Architecture หรือสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อสายส่งข้อมูล โดย Topology แต่ละชนิดจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ซึ่งอาจนำ Topology มากกว่า 1 Topology มาใช้งานร่วมกันเกิดเป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ๆ ขึ้น ตัวอย่างของ Network Architecture เช่น Ethernet, Token Ring หรือ ARCnet เป็นต้น

            Topology
            Topology ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คือ แบบ Star, Ring และ Bus ในบางครั้งอาจนำ Topology มาผสมกันเพื่อให้การทำงานดีขึ้น กลายมาเป็นรูปแบบใหม่ คือ Hybrid และ Mash Topology
            1. Bus หรือแบบเส้นตรง เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรงซึ่งติดตั้งได้ง่าย แต่มีปัญหาในกรณีที่สายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจะทำให้ระบบ Network จะหยุดการทำงานทันที

            ข้อดีของ Bus

                 - ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่าย การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ทำให้ใช้สายส่งข้อมูลได้อย่างประหยัด ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษา
                 - มีโครงสร้างที่งาย สถาปัตยกรรมแบบนี้มีโครงสร้างที่ง่ายและมีความเชื่อมถือได้เพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
                 - ง่ายในการเพิ่มจุดใช้บริการใหม่เข้าไปในระบบ จุดใหม่จะใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้และยังอาจขยายระบบออกไปโดยเพิ่มเซกเมนต์ที่ต่อออกมาโดยใช้ตัวทวนซ้ำสัญญาณได้

            ข้อเสียของ Bus

                 - การหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก แม้ว่าโครงสร้างแบบบัสนี้จะมีรูปแบบที่ง่าย แต่การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะทำได้ยากในระบบเครือข่ายท้องถิ่นส่วนใหญ่ การควบคุมระบบจะไม่มีศูนย์กลางอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งเฉพาะซึ่งหมายความว่าการตรวจสอบข้อผิดพลาดต้องทำจากหลาย ๆ จุดในระบบ
                 - ในกรณีที่เกิดการเสียหายในสายส่งข้อมูลจะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถจะทำงานได้
                 - เมื่อจะขยายระบบเครือข่ายแบบบัสโดยใช้ตัวทวนซ้ำสัญญาณ อาจต้อมีการจัดโครงสร้างของระบบใหม่
                - จุดในระบบต้องฉลาดพอ เนื่องจากแต่ละจุดในระบบเครือข่ายต่อโดยตรงกับบัส ซึ่งหมายความว่าการตัดสินใจว่าใครจะใช้งานสายส่งข้อมูลจะเป็นหน้าที่ของแต่ละจุด ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
            2. Ring หรือแบบวงแหวน โดย Workstation และ File Server จะถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลมทำงานโดยส่งข้อมูลผ่านกันทุก Workstation ข้อเสียคือ ถ้า Workstation ใดเกิดขัดข้อทั้งระบบจะหยุดการทำงานไปด้วย แต่ข้อดีก็คือเชื่อมต่อกันได้ด้วยระยะทางไกลขึ้น

            ข้อดีของ Ring

                 - ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ความยาวสายส่งข้อมูลที่ใช้ใน Topology แบบนี้จะใกล้เคียงกับแบบบัส แต่จะน้อยกว่าของแบบดาวมาก ทำให้ช่วยเพิ่มความนำเชื่อของระบบได้มากขึ้น
                 - ไม่ต้องมีหน้าที่สำหรับ Wiring closet เพราะว่าสายส่งแต่ละสายจะต่อกับจุดที่อยู่ติดกับมัน
                 - เหมาะสมสำหรับเส้นใยแก้วนำแสง การใช้สายส่งข้อมูลแบบใยแก้วนำแสงจะช่วยให้ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ข้อมูลในวงแหวนจะเดินทางเดียว ซึ่งง่ายในการใช้สายแบบเส้นใยแก้วนำแสง ในการส่งแต่ละจุดจะเชื่อมกับจุดติดกันด้วยสายส่งข้อมูลทำให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้สายส่งข้อมูลแบบไหนในแต่ละส่วนของระบบ เช่น เลือกใช้สายเส้นใยแก้วนำแสงในส่วนที่ใช้งานในโรงงานซึ่งมีปัญหาด้านสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมาก

            ข้อเสียของ Ring

                 - ถ้าจุดหนึ่งจุดใดเสียหายจะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะผ่านทุก ๆ จุดในวงแหวนก่อนจะกลับมาหาผู้ส่ง ถ้าจุดใดเสียหายทั้งระบบก็จะไม่สามารถติดต่อกัน จนกว่าจะเอาจุดที่เสียหายออกจากระบบ
                 - ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุดถัดไป เพื่อหาดูว่าจุดใดเสียหาย ซึ่งการตรวจสอบอาจต้องมีเครื่องมือบางอย่าง
                 - การจัดโครงสร้างระบบใหม่อาจยุ่งยาก เมื่อต้องการจะเพิ่มจุดใหม่เข้าไป
                 - เทคโทโพโรยีแบบวงแหวนมีผลต่อการเรียกใช้วิธีการใช้สายส่งข้อมูล (Line Access Method) แต่ละจุดในวงแหวนจะมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลที่ได้รับออกไป ซึ่งก่อนจุดใดจะส่งข้อมูลของตนเองออกไปนั้นต้องมั่นใจว่าสายส่งข้อมูลนั้นวางอยู่
            3. Star หรือแบบดาวกระจาย Workstation และ Server จะถูกเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ต่อเชื่อมตัวกลางที่เรียกว่า Concentrator หรือ Hub โดย Hub นี้จะทำหน้ารับส่งข้อมูลจาก Station หนึ่งแล้วส่งไปให้กับ Station อื่น ข้อดีก็คือ Station ใดคัดข้องขึ้นมา Station อื่นก็ยังคงทำงานได้ปกตินอกจาก Hub หรือ File Server เองจะมีปัญหาซึ่งจะทำให้ระบบหยุดทำงานเช่นกัน


            ข้อดีของ Star
                 - ง่ายในการให้บริการโทโพโลยีแบบดาวมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เดียว เช่น ที่ศูนย์กลางสายส่งข้อมูลหรือที่ Wiring Closet ซึ่งง่ายในการให้บริการหรือการติดตั้งระบบ
                 - อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายในระบบไม่กระทบต่อการทำงานขอจุดอื่น ๆ ในระบบ
                 - ใช้โปรโตคอลแบบง่าย ๆ ได้ การเชื่อต่อในระบบที่ใช้โทโพโลยีแบบดาวจะเกี่ยวข้องกับระบบศูนย์กลางและอุปกรณ์ที่มีอีกจุดหนึ่งเท่านั้น ทำให้การส่งข้อมูลทำได้ง่าย

            ข้อเสียของ Star
                 - ความยาวของสายส่งข้อมูล เนื่องจากแต่ระจุดต่อโดยตรงกับศูนย์กลางต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษ
                 - การขยายระบบทำให้ลำบาก การเพิ่มจุดใหม่เข้าไปในระบบจะต้องเดินสายจากจุดศูนย์กลางออกมา
                 - การทำงานขึ้นอยู่กับจุดศูนย์กลาง ถ้าจุดศูนย์กลางเกิดเสียหายขึ้นมาแล้วทั้งระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้
            4. Hybrid เป็น Topology ใหม่ที่ผสมผสานรูปแบบของ Star , Ring , และ Bus เข้าด้วยกันเป็นการลดจุดอ่อน และเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบ มักใช้กับระบบ Wide Area Network (WAN) และ Enterbrise-Wide Network
            5. Mash เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุดทั้งนี้เนื่องจากจะเดินสาย Cable ไปเชื่อมต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพงมากจึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น